เทศบาลตำบลสระบัว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี:www.sabua.go.th

 
 

 

 

อำนาจหน้าที่

 
 
อำนาจหน้าที่ของเทศบาล
 

          ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 14 พ.ศ. 2562 กำหนดไว้แจ้งชัด ซึ่งอาจจำแนกที่มาของอำนาจหน้าที่ดังกล่าวได้คือ

1. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้งเทศบาลกำหนด
          สามารถแบ่งแยกประเภทอำนาจหน้าที่ของเทศบาลไว้เป็น 2 ส่วน คือ หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ และอำนาจหน้าที่ ที่เลือกปฏิบัติ ทั้งยังได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลในฐานะต่างๆ ดังนี้
1.1 หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ มาตรา 50, 53 และ 56 หน้าที่เทศบาล

บทที่ ๑
เทศบาลตำบล

 


มาตรา ๔๙* (ยกเลิกทั้งมาตรา)
มาตรา ๕๐ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบล มีหน้าที่ต้องทำให้เขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

          (๑) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
          (๒) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
          (๓) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
          (๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
          (๕) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
          (๖) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
          (๗) *ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
          (๘) **บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
          (๙) **หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

มาตรา ๕๑*** ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจกรรมใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
          (๑) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
          (๒) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
          (๓) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
          (๔) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
          (๕) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
          (๖) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
          (๗) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
          (๘) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
          (๙) เทศพาณิชย์

บทที่ ๒
เทศบาลเมือง

มาตรา ๕๒* (ยกเลิกทั้งมาตรา)
มาตรา ๕๓** ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

          (๑) กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐
          (๒) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
          (๓) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
          (๔) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
          (๕) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
          (๖) ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
          (๗) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
          (๘) ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น

มาตรา ๕๔* ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง อาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
          (๑) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
          (๒) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
          (๓) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
          (๔) ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
          (๕) ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
          (๖) ให้มีการสาธารณูปการ
          (๗) จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
          (๘) จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
          (๙) ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
          (๑๐)ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
          (๑๑)ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
          (๑๒)เทศพาณิชย์

บทที่ ๓
เทศบาลนคร

มาตรา ๕๕* (ยกเลิกทั้งมาตรา)
มาตรา ๕๖ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลนครมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

          (๑) กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๓
          (๒) ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
          (๓) กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
          (๔)* การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น
          (๕)* จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
          (๖)* จัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ
          (๗)* การวาผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง
          (๘)* การส่งเสริมกิจการการท่องเที่ยว

มาตรา ๕๗ เทศบาลนครอาจจัดทำกิจการอื่น ๆ ตามมาตรา ๕๔ ได้


บทที่ ๓ ทวิ*
การทำการนอกเขตเทศบาลและการทำการร่วมกับบุคคลอื่น

 

มาตรา ๕๗ ทวิ* เทศบาลอาจทำกิจการนอกเขต เมื่อ
          (๑) การนั้นจำเป็นต้องทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินตามอำนาจหน้าที่อยู่ภายในเขตของตน
          (๒) ได้รับความยินยอมจากสภาเทศบาล คณะกรรมการสุขาภิบาลสภาจังหวัด หรือสภาตำบลแห่งท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและ
          (๓) ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

มาตรา ๕๗ ตรี* เทศบาลอาจทำการร่วมกับบุคคลอื่นโดยก่อตั้งบริษัทจำกัด หรือถือหุ่นในบริษัทจำกัด เมื่อ
          (๑) บริษัทจำกัดนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค
          (๒) เทศบาลต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนที่บริษัทนั้นจดทะเบียนไว้ ในกรณีที่มีหลายเทศบาล องค์บริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนตำบลหรือสุขาภิบาล ถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกันให้นับหุ่นที่ถือนั้นรวมกัน และ
          (๓) ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยการเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ่นที่เทศบาลถืออยู่ในบริษัทจำกัด ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
          
*****ความใน (๑) และ (๒) ของวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับในกรณีที่บริษัทจำกัดที่เทศบาลร่วมก่อตั้งหรือถือหุ้นอยู่ด้วย


บทที่ ๔
สหการ


มาตรา ๕๘ ถ้ามีกิจการใดอันอยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปที่จะร่วมกันทำเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ก็ให้จัดตั้งเป็นองค์การขึ้นเรียกว่า สหการ มีสภาพเป็นทบวงการเมือง และมีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยผู้แทนของเทศบาลที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย

 

*****การจัดตั้งสหการจะทำได้ก็แต่โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งจะได้กำหนดชื่อ อำนาจหน้าที่ และระเบียบการดำเนินงานไว้
การยุบเลิกสหการให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาโดยกำหนดวิธีการจัดทรัพย์สินไว้ด้วย

มาตรา ๕๙ สหการอาจได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และอาจกู้เงินได้ภายใต้บังคับมาตรา ๖๖ (๕) หรือ (๖)


ส่วนที่ ๔
เทศบัญญัติ

 


มาตรา ๖๐* เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อบทกฎหมายในกรณีดังต่อไปนี้
          (๑) เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
          (๒) เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติ หรือให้มีอำนาจตราเทศบัญญัติ

*****ในเทศบัญญัตินั้น จะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดเทศบัญญัติ หรือให้มีอำนาจตราเทศบัญญัติ


2. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่นๆกำหนด
          นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดไว้แล้วยังมีกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจ หน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆอีกเป็นจำนวนมาก เช่น
                    - พระราชบัญญัติป้องกันภยันตราย อันเกิดแก่การเล่นมหรสพ พ.ศ.2464
                    - พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2534
                    - พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535
                    - พระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระทำปุ๋ย พ.ศ.2490
                    - พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
                    - พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2495
                    - พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535
                    - พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534
                    - พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535
                    - พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535
                    - พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ.2503
                    - พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508
                    - พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510
                    - พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518
                    - พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2522
                    - พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
                    - พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2523
                    - พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ.2526
                    - พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528
                    - ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 11 มกราคม 2502
                    - ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2515 (กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจอดเรือในแม่น้ำลำคลอง)
                    - ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (กฎหมายว่าด้วยทางหลวง)
                    - ประมวลกฎหมายที่ดิน (ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่า
ตามคำสั่ง กระทรวงมหาดไทยที่ 720/2498


อำนาจหน้าที่ของเทศบาลโดยสรุป

          1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
          2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
          3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
          4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
          5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
          6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
          7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
          8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
          9. ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
          10. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
          11. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
          12. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
          13. ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
          14. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
          15. ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
          16. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล


กิจการที่อาจจัดทำในเขตเทศบาล

          1. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
          2. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
          3. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
          4. ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
          5. ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
          6. ให้มีการสาธารณูปการ
          7. จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
          8. จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
          9. ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
          10. ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
          11. ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
          12. เทศพาณิชย์

นอกจากนี้ เทศบาลยังมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ.2542 ดังนี้
          1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
          2. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
          3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
          4. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
          5. การสาธารณูปการ
          6. การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ
          7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
          8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
          9. การจัดการศึกษา
          10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
          11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
          12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
          13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
          14. การส่งเสริมกีฬา
          15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
          16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
          17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
          18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
          19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
          20. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
          21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
          22. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
          23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ
          24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          25. การผังเมือง
          26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
          27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
          28. การควบคุมอาคาร
          29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
          30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
          31. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด